• Home
  • News
  • Health News
  • Travel News

Top News

News

  • Home
  • News
  • Health News
  • Travel News

อาหารผู้ป่วย สำหรับผู้ป่วยเบาหวาน

byadmin January 29, 2022 News

อาหารผู้ป่วย สำหรับผู้ป่วยเบาหวาน โรคเบาหวาน เป็นโรคที่มีน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ เกิดเนื่องจากมีอินซูลินน้อย หรือร่างกายไม่ตอบสนองต่ออินซูลิน ทำให้ไม่สามารถนำน้ำตาลไปใช้ได้ตามปกติ มีอาการปัสสาวะบ่อย หิวน้ำบ่อย น้ำหนักลด ผลในระยะยาวทำให้เกิดโรคเบาหวานข้นตา เบาหวานลงไต โรคหัวใจและหลอดเลือดตีบแข็งและอื่นๆ

จุดมุ่งหมายในการควบคุมอาหาร

เพื่อควบคุมระดับน้ำตาล ไขมันในเลือด และความดันโลหิตให้อยู่ในระดับปกติ หรือใกล้เคียงในระดับปกติมากที่สุด
ได้รับสารอาหารและพลังงานเพียงพอแต่ไม่เกินความต้องการของร่างกาย
ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
ป้องกันหรือชะลอการเกิดโรคแทรกซ้อนของเบาหวาน
มีคุณภาพชีวิตที่ดี สามารถประกอบอาชีพในสังคมได้ตามปกติ

สามารถแบ่งอาหารได้เป็น 3 ประเภทง่ายๆ คือ

1. อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง เป็นอาหารที่ทำให้น้ำตาลในเลือดสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ได้แก่
อาหารที่มีน้ำตาลเป็นส่วนประกอบ เช่น เค้ก คุกกี้ ไอศกรีม ขนมหวาน และช็อกโกแลต
เครื่องดื่มที่มีน้ำตาล เช่น น้ำหวาน น้ำอัดลม นมเปรี้ยว นมปรุงแต่งรส น้ำผลไม้ เครื่องดื่มชูกำลัง และน้ำเกลือแร่
ผลไม้เชื่อม ผลไม้ตากแห้ง น้ำผึ้ง และลูกอม ถ้าต้องการบริโภคอาหารที่มีรสหวาน สามารถใช้น้ำตาลเทียมได้

2. อาหารที่รับประทานได้แต่ควรกำหนดปริมาณ
อาหารประเภทแป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้ง เช่น ข้าว ขนมปัง เผือก มัน ข้าวโพด ก๋วยเตี๋ยว บะหมี่ วุ้นเส้น ขนมจีน และถั่วต่างๆ อาหารกลุ่มนี้เมื่อรับประทานเข้าไป จะถูกย่อยสลายเป็นน้ำตาล และดูดซึมเข้าสู่ร่างกายเพื่อนำไปใช้เป็นพลังงาน แต่ถ้าเกินความต้องการจะทำให้น้ำตาลและไขมันในเลือดสูง และตามมาด้วยโรคอ้วนได้ จึงต้องจำกัดปริมาณ แนะนำให้รับประทาน 6-11 ส่วนต่อวัน แป้ง 1 ส่วน ได้แก่ ข้าวสวย 1 ทัพพี หรือข้าวเหนียว 3 ช้อนโต๊ะ ขนมจีน/ก๋วยเตี๋ยว/วุ้นเส้นครึ่งถ้วยตวง ขนมปังปอนด์ 1 แผ่น บะหมี่ 1 ก้อน มัน/เผือก/ฟักทองครึ่งถ้วยตวง

3. อาหารประเภทโปรตีน ได้แก่ เนื้อสัตว์ต่างๆ ไข่ นม ผลิตภัณฑ์จากนม (เนย ชีส) เต้าหู้ และถั่วเมล็ดแห้ง ร่างกายจำเป็นต้องใช้โปรตีน ในการเจริญเติบโต และซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ แต่ถ้ารับประทานโปรตีนมากเกินไป ไตต้องทำงานหนักเพิ่มมากขึ้นในการขับของเสียจากการย่อยสลายโปรตีน ทำให้ไตทำงานบกพร่องได้ และเนื้อสัตว์หลายชนิดมีไขมัน และมีคอเลสเตอรอลสูง ดังนั้นจึงควรรับประทานเนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ไม่ติดหนัง และรับประทานโปรตีนวันละ 3-5 ส่วนต่อวัน ได้แก่ เนื้อสัตว์ 2 ช้อนโต๊ะ (เนื้อล้วน) ปลาทูขนาดเล็ก 1 ตัว กุ้งขนาดกลาง 6 ตัว ลูกชิ้น 6 ลูก เต้าหู้แข็งคร่งแผ่น เต้าหูหลอด 3/4 หลอด ไข่ 1 ฟอง ถั่วเมล็ดแห้งสุกครึ่งถ้วยตวง

4. อาหารไขมัน ได้แก่ ไขมันสัตว์ หนังสัตว์ติดมัน น้ำมันพืช เนย มาการีน (เนยเทียม) และกะทิ นอกจากจะให้พลังงานและช่วยในการดูดซึมวิตามินแล้วยังทำให้อาหารมีรสชาติมากขึ้น แต่ถ้ารับประทานมากเกินจะทำให้ไขมันในเลือดสูง นำมาซึ่งโรคอ้วน โรคหัวใจ และหลอดเลือดแดงตีบแข็งได้ แนะนำให้หลีกเลี่ยงไขมันสัตว์ กะทิ น้ำมันมะพร้าว น้ำมันปาล์ม และใช้น้ำมันพืช ที่มีกรดไขมันอิ่มตัวต่ำทดแทน เช่น น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันรำข้าว น้ำมันข้าวโพด น้ำมันมะกอก และจำกัดปริมาณ 3-5 ส่วนต่อวัน ไขมัน 1 ส่วน ได้แก่ น้ำมัน/เนย/เนยเทียม/มายองเนส 1 ช้องชา กะทิ 1 ช้อนโต๊ะ ถั่วลิสง 10 เมล็ด เม็ดมะม่วงหิมพานต์ 6 เมล็ด

5. ผลไม้ นอกจากจะมีวิตามิน เกลือแร่และกากใยอาหารสูงแล้วยังมีน้ำตาลด้วยจึงต้องจำกัดปริมาณที่รับประทานไม่เกิน 3 ส่วนต่อวัน และเป็นผลไม้สด ไม่เชื่อม หมัก ดอง หรือมีเครื่องจิ้ม กล้วยน้ำว้า/กล้วยไข่ 1 ลูก กล้วยหอม 1/2 ลูก ส้มเขียวหวาน 1 ลูก เงาะ/มังคุด 3 ผล ชมพู่ 2 ผล องุ่น 10 ผล มะม่วง/ฝรั่งครึ่งผล ส้มโอ 3 กลีบ มะละกอสุก 7-8 คำ แอปเปิ้ล/สาลี่ ครึ่งลูก แตงดม 10 คำ สับปะรด 10 คำ

6. นมและผลิตภัณฑ์ ควรดื่มนมจืดพร่องไขมัน ที่ไม่ปรุงแต่งรสวันละ 1-2 แก้ว หรือเป็นแหล่งของโปรตีน และแคลเซียม โยเกิร์ตไม่ปรุงแต่งรสพร่องไขมัน ไม่เกิน 1 ถ้วยตวงต่อวัน

7. แอลกอฮอล์ บางชนิดมีส่วนประกอบของคาร์โบไฮเดรตมาก เช่น เบียร์ ไวน์ เหล้าหวาน อาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น ถ้าดื่มแอลกอฮอล์ในขณะท้องว่าง อาจทำให้น้ำตาลในเลือกต่ำได้ เนื่องจากแอลกอฮอล์ไปยับยั้งการสร้างกลูโคสจากตับ นอกจากนี้ถ้าดื่มมากเกินจะทำให้ไขมันในเลือดสูง โดยเฉพาะไขมันไตรกลีเซอไรด์

8. เกลือ จะทำให้ความดันโลหิตสูง เพราะเกลือทำให้ร่างกายกักเก็บน้ำไว้มากขึ้น แนะนำรับประทานไม่เกิน 2000 มิลลิกรัม/วัน (เกลือ 1 ช้อนชา, น้ำปลา 4 ช้อนชา) นอกจากนี้ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีเกลือเป็นส่วนประกอบ เช่น อาหารหมักดอง บะหมี่สำเร็จรูป โจ๊กบรรจุซอง และขนมอบกรอบต่างๆ
อาหารที่รับประทานได้ไม่จำกัด เป็นอาหารที่ให้พลังงานต่ำมีกากใยมาก ได้แก่
ผักใบเขียวทุกชนิด
เครื่องเทศต่างๆ เช่น กระเทียมพริกไทย
ชา กาแฟ ที่ไม่ใส่น้ำตาล น้ำอัดลมที่ไม่มีน้ำตาล (แต่ไม่ควรเกิน 2 แก้วต่อวัน)
เครื่องปรุง เช่น มะนาว น้ำส้มสายชู

หมายเหตุ
ถ้าผู้ป่วยเบาหวานอ้วน แนะนำให้ลดน้ำหนัก โดยลดอาหารประเภทแป้ง น้ำตาล และอาหารไขมันลง อาจเพิ่มโปรตีนและผักเพื่อให้อิ่ม
แนะนำให้งดสูบบุหรี่ในผู้ป่วยเบาหวานทุกรายเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดตีบตัน ทั้งในหัวใจ สองและหลอดเลือดส่วนปลาย
ถ้ามีเบาหวานลงไตต้องจำกัดปริมาณโปรตีน และลดการบริโภคเกลือลง
รับประทานอาหารให้ตรงเวลา และปริมาณใกล้เคียงกันในแต่ละวัน เพื่อจะได้ควบคุมน้ำตาลในเลือดในคงที่

Taggedthetastefood

วัตฟอร์ดแต่งตั้ง รอย ฮอดจ์สัน เป็นผู้จัดการทีมคนใหม่

ดำเนินคดีผู้ชายที่ขับรถโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นเวลา 70 ปี

Recent Posts

  • หากมีคอเลสเตอรอลสูง การกินไข่แดงถือเป็นเรื่องต้องห้ามจริงหรือไม่
  • ความเสียหายต่อกระดูกอ่อนเป็นสาเหตุของโรคข้อเข่าเสื่อม
  • สถาปัตยกรรมเมืองหลวงลูบลิยานาของสโลวีเนีย
  • การตอบสนองต่อความเครียดภายในเซลล์กล้ามเนื้อ
  • ชาวบาสก์ภูมิใจในอาหารที่มาจากท้องถิ่น

Recent Comments

    Archives

    • May 2022
    • April 2022
    • March 2022
    • February 2022
    • January 2022
    • December 2021
    • November 2021
    • October 2021
    • September 2021
    • August 2021
    • July 2021
    • June 2021
    • May 2021
    • April 2021
    Proudly powered by WordPress | Theme: Showme by NEThemes.